เริ่มทำธุรกิจแบบไหนดี?

เริ่มทำธุรกิจแบบไหนดี?

การทำธุรกิจทุกวันนี้มีหลายรูปแบบ และส่งผลต่อการกำหนดทิศทางทางธุรกิจ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โอกาสได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจที่ดำเนินงานอยู่ผู้ประกอบการต้องเข้าใจรูปแบบทางธุรกิจ เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสม

รูปแบบธุรกิจในปัจจุบัน
นิติบุคคล บุคคลธรรมดา
1.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
หมายถึง กิจการที่มีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาร่วมลงทุนและจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ผู้ลงทุนเรียกว่า "หุ้นส่วน" หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน
1.เจ้าของคนเดียว
หมายถึง ธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียว ลงทุนคนเดียว ธุรกิจเป็นหนึ่งเดียวกับตัวเจ้าของ และต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินของธุรกิจทั้งหมด
2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด
หมายถึง กิจการที่มีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาร่วมลงทุนและจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งแบ่งหุ้นส่วนเป็น 2 ประเภท คือ
"หุ้นสวนที่ไม่จำกัดความรับผิด" หมายถึง หุ้นส่วนที่รับผิดชอบในหนี้สินของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน 
"หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิด" หมายถึง หุ้นส่วนที่รับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่เกินจำนวนเงินที่ตนได้ลงทุนไป
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล
หมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปตกลงทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรจากกิจการที่ทำ
3.บริษัทจำกัด
หมายถึง กิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป นำเงินมาร่วมลงทุน และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทุนแบ่งออกเป็น "หุ้น" ซึ่งแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน แต่ "ผู้ถือหุ้น" อาจมีจำนวนหุ้นไม่เท่ากัน ผู้ถือหุ้นจะได้ส่วนแบ่งกำไรของบริษัทตามสัดส่วนหุ้นที่ตนเองถือ และรับผิดชอบไม่เกินมูลค่าหุ้นที่ตนเองถืออยู่
3.คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
หมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปตกลงทำกิจการร่วมกัน แต่ไม่มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไร ที่ได้จากกิจการที่ทำ

ด้านการบริหารงาน นิติบุคคล VS บุคคลธรรมดา
นิติบุคคล-การทำบัญชี บุคคลธรรมดา-การทำบัญชี
ทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี และมีผู้ตรวจสอบบัญชีรับรองบัญชี
- มีข้อมูลทางบัญชีที่น่าเชื่อถือในแต่ละธุรกรรม
- รู้สภาพปัจจุบันของธุรกิจ ด้านกำไร/ขาดทุน/ต้นทุน
- ช่วยแก้ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายได้ตรงจุด
- เป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการขอสินเชื่อจากธนาคาร
- รู้สถานะที่แท้จริงของกิจการ และนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนธุรกิจได้
ทำรายงานเงินสดรับจ่าย
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5,6,7 และ 8 (ไม่ว่าจะหักค่าใช้จ่ายอัตราเหมาหรือจริง) มีหน้าที่จัดทำรายงานเงินสดรับจ่าย
นิติบุคคล-ความน่าเชื่อถือ บุคคลธรรมดา-ความน่าเชื่อถือ
มีมากกว่า เนื่องจาก
- จดทะเบียนจัดตั้งกับภาครัฐ
- จัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ทำให้มีข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ดีพอและน่าเชื่อถือ ส่งผลให้การขยายกิจการ การติดต่อลูกค้า และการหาแหล่งเงินทุนทำได้ง่ายกว่า
มีน้อยกว่า เนื่องจาก
- จัดตั้งง่าย ข้อบังคับน้อย
- ไม่ได้ทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ทำให้ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับกิจการที่ดีพอ ขาดข้อมูลทางบัญชีในเชิงการบริหารจัดการ และดำเนินธุรกิจ
นิติบุคคล-ความรับผิดชอบในหนี้สิน บุคคลธรรมดา-ความรับผิดชอบในหนี้สิน
เสี่ยงน้อยกว่า เนื่องจาก
- กิจการแยกจากเจ้าของกิจการอย่างชัดเจน
- หนี้สินของกิจการไม่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น
- ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นจำกัดเฉพาะมูลค่าหุ้นที่เป็นเจ้าของ
เสี่ยงมากกว่า เนื่องจากต้องรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นเต็มจำนวน
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์